ลูกค้าบุคคล
ลูกค้าองค์กร
ล็อกอินเพื่อเข้าสู่ระบบบริการลูกค้า
ระบบข้อมูลลูกค้า AIA iService
ระบบ AIA Vitality
{{title}}
{{label}}บนเว็บไซต์ iservice.aia.co.th ผ่านช่องทาง Google Chrome, Safari, Internet Explorer
ประมาณ 7 วันทำการ หลังจากบริษัทได้รับเอกสารครบถ้วน
ไม่จำเป็น ในกรณีที่ลูกค้ามีสุขภาพ, อายุ, อาชีพ, และวงเงินประกันในเกณฑ์ปกติ สามารถสมัครผ่านตัวแทนประกันที่มีใบอนุญาตขายประกันแบบไม่ตรวจสุขภาพได้ แต่ลูกค้าต้องเปิดเผยข้อมูลสุขภาพ (เช่น โรคประจำตัว) ตามความเป็นจริง มิฉะนั้นสัญญาประกันชีวิตอาจถูกยกเลิกในภายหลังได้
ปัญหาสุขภาพ และประวัติการเจ็บป่วยมีผลต่ออัตรามรณะที่สูงขึ้นกว่าปกติเมื่อเทียบกับผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงปกติ การตรวจสุขภาพหรือการเปิดเผยข้อมูลสุขภาพตามความเป็นจริงจะทำให้บริษัทประเมินความเสี่ยงของข้อมูลสุขภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ตามข้อกำหนดของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ผู้ป่วยเป็นโรคร้ายแรง ได้แก่ ความดัน เบาหวาน หัวใจ มะเร็ง และ ภาวะคุ้มกันบกพร่อง โดยทั่วไปจะไม่สามารถทำประกันชีวิตได้ แต่ทั้งนี้บริษัทอาจพิจารณารับประกันหากโรคร้ายแรงนั้นยังอยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ ลูกค้าสามารถลองสมัครเข้ามา
ส่วนลูกค้าที่มีความพิการ บริษัทสามารถพิจารณารับประกันได้โดยมีเงื่อนไข ขึ้นอยู่กับสาเหตุและระดับความผิดปกติของความพิการ
การทำประกันคือการเฉลี่ยความเสี่ยงของลูกค้าทุกคน ลูกค้าที่จัดอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูงจึงต้องจ่ายเบี้ยประกันที่สูงกว่าลูกค้าที่มีความเสี่ยงปกติ
ทำได้ 2 วิธี คือ
1. การให้โรงพยาบาลเก็บค่ารักษาจากบริษัทโดยตรง (Fax claim) สามารถเช็ครายชื่อโรงพยาบาลที่ให้บริการได้ ที่นี่ โดยทำการเบิกจ่ายก่อนออกจากโรงพยาบาล ใช้เวลา 1-2 ชั่วโมงหลังจากโรงพยาบาลส่งเอกสารครบถ้วน
2. การสำรองจ่ายไปก่อนแล้วจึงมาเรียกร้องสินไหมจากบริษัท โดยการกรอกแบบฟอร์มเรียกร้องสินไหม พร้อมใบเสร็จรับเงินต้นฉบับ แล้วส่งเข้ามาที่บริษัท ใช้เวลาพิจารณา 5-7 วันทำการหลังจากวันที่รับเอกสารครบถ้วน
สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ ที่นี่
การเรียกร้องสินไหม
ภายใน 14 วันนับตั้งแต่วันเสียชีวิต เจ็บป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุ แต่ถ้าญาติไม่ทราบมาก่อนว่าผู้เสียชีวิตมีประกันชีวิต อนุโลมให้แจ้งได้ภายใน 7 วันหลังจากทราบ
ตรวจสอบผ่านระบบ AIA iService (ทั้งแอปพลิเคชันและเวบ) หรือ AIA Call Center 1581
สำหรับ AIA iService แอป เลือก เมนู"สินไหม"
สำหรับ AIA iService เวบ เลือกเมนู"บริการกรมธรรม์" => "ตรวจสอบการเรียกร้องค่าสินไหม"
เมื่อส่งแบบฟอร์มการเรียกร้องสินไหม ขอให้แนบแบบฟอร์มหนังสือแจ้งความประสงค์การขอใบเสร็จรับเงินต้นฉบับคืนให้ผู้เอาประกันภัยในครั้งเดียวกัน ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
รายชื่อสถานพยาบาลที่ร่วมโครงการ AIA Health Care คลิกที่นี่
บัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่ายแนบและออกโดยหน่วยงานราชการต่อเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและบัตรประจำตัวผู้ถือกรมธรรม์
ถ้าเกิดการเจ็บป่วยในช่วงเวลารอคอยจะไม่ สามารถเรียกร้องสินไหมได้
ระยะเวลารอคอยหรือระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง (Waiting period) จะแตกต่างกันในแต่ละสัญญาเพิ่มเติมตามรายละเอียดในกรมธรรม์
สำหรับกรณีอุบัติเหตุและเสียชีวิตจะไม่มีระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง (Waiting period)
ช่วงเวลาผ่อนผัน คือช่วงเวลาที่บริษัทยืดความคุ้มครองให้แม้ลูกค้าจะไม่ได้ชำระเบี้ยภายในกำหนด (ปกติผ่อนผันให้ 31 วันนับจากวันครบกำหนดชำระเบี้ย)
ลูกค้าจะสามารถเรียกร้องสินไหมได้ตามปกติในช่วงเวลาผ่อนผัน แต่จะต้องมาชำระเบี้ยที่เลยกำหนดให้ครบก่อน
บริษัทจะพิจารณาและจ่ายสินไหมให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน นับแต่วันที่บริษัทได้รับเอกสารเรียกร้องสินไหม (เคลม) พร้อมเอกสารประกอบการพิจารณาครบถ้วนตามที่บริษัทกำหนด จากผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์
อย่างไรก็ตาม บริษัทอาจขยายระยะเวลาในการพิจารณาและจ่ายสินไหมออกไปได้ตามความจำเป็น แต่ทั้งนี้ ไม่เกิน 90 วันนับแต่วันที่บริษัทได้รับเอกสารเรียกร้องสินไหม (เคลม) พร้อมเอกสารประกอบการพิจารณาครบถ้วนตามที่บริษัทกำหนด โดยบริษัทจะแจ้งให้ผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ทราบถึงเหตุที่ล่าช้า (แล้วแต่กรณี) ในการนี้ ผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ต้องให้ข้อเท็จจริงและให้ความสะดวกแก่บริษัทตามสมควร
บริษัทจะจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีของจำนวนเงินที่ต้องจ่ายในช่วงเวลาที่บริษัทจ่ายสินไหมล่าช้าเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ หรือเกินกว่าระยะเวลาที่ขยายออกไปข้างต้น
วันที่ถึงกำหนดชำระของกรมธรรม์ของลูกค้าจะแสดงปรากฎในบนใบแจ้งเตือน โดยมีระยะเวลาผ่อนผันการชำระเบี้ยได้ภายใน 31 วันนับจากวันถึงกำหนด โดยถือว่ากรมธรรม์ยังมีผลบังคับอยู่ได้รับความคุ้มครองตามปกติ
วันที่หักบัญชีธนาคาร/บัตรเครดิตจะแตกต่างกันตามประเภทกรมธรรม์ประกันชีวิต,อุบัติเหตุ หรือ ยูนิตลิงค์ เช่น กรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีงวดครบกำหนดชำระช่วงวันที่ 1-15 ของเดือน บริษัทจะหักบัญชีทุกวันที่กลางเดือน หากกรมธรรม์ที่มีงวดครบกำหนดชำระช่วงวันที่ 16-31 ของเดือน บริษัทจะหักบัญชีทุกวันสิ้นเดือน เป็นต้น
ลูกค้าสามารถตรวจสอบข้อมูลของท่านได้จาก จดหมายยืนยันการหักชำระเบี้ยประกันภัยผ่านบัญชีซึ่งบริษัทจะส่งให้หลังจากอนุมัติบริการดังกล่าว (กรณีที่ลูกค้าชำระเบี้ยประกันภัยแบบรายเดือน บริษัทจะจัดส่งใบเสร็จรับเงินพร้อมแจ้งวันที่จะหักบัญชีในงวดถัดไป)
ลูกค้าสามารถแจ้งเป็นลายลัษณ์อักษรโดยระบุในสำเนาบัตรประชาชนว่า “แจ้งยกเลิกการหักชำระเบี้ยประกันภัยผ่านบัญชีธนาคาร หรือ บัตรเครดิต” พร้อมระบุเลขที่กรมธรรม์ ชื่อผู้เอาประกันภัย เบอร์โทรศัพท์ที่สะดวกในการติดต่อ เซ็นรับรองสำเนาถูกต้องโดยลายเซ็นต้องเหมือนกับที่ให้ไว้ในกรมธรรม์ และ ส่งอีเมล์มาที่ th.customer@aia.com
เบื้องต้นอาจเกิดจากยอดเงินในบัญชีไม่เพียงพอในวันที่บริษัทแจ้งให้ธนาคารทำเรื่องหักบัญชี หรืออาจเกิดจากไม่สามารถตัดยอดในงวดก่อนหน้านี้ได้ ลูกค้าควรติดต่อ AIA Call Center 1581 เพื่อตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้ง
ลูกค้าสามารถแจ้งอีเมล์หรือเบอร์โทรล่าสุดของตนเองเพื่อขอรับใบแจ้งกำหนดชำระเบี้ยประกันภัยได้ที่ AIA Call Center 1581 หรือ ตรวจสอบด้วยตัวเองผ่าน AIA iService (ทั้งแอปพลิเคชันและเวบ)
สำหรับ AIA iService แอป เลือกเมนู "ชำระเบี้ย"
สำหรับ AIA iService เวบ เลือกเมนู "บริการกรมธรรม์" => "ดาวน์โหลดเอกสารและจดหมายแจ้งเตือน" => "ใบแจ้งเตือนการชำระเบี้ยประกันภัย"
ลูกค้าสามารถชำระเบี้ยประกันภัยได้ที่ตัวแทน AIA และ ที่สำนักงานตัวแทน AIA ทุกแห่ง และต้องขอใบรับเงินชั่วคราวเพื่อเป็นหลักฐานการชำระเงินทุกครั้ง
ลูกค้าสามารถส่งสำเนาหลักฐานการชำระเงิน และ เขียนจดหมายหัวข้อ "ชำระเบี้ยประกันผิดกรมธรรม์" ระบุเลขที่กรมธรรม์ที่ต้องการชำระ,ชื่อผู้เอาประกันภัย,หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อกลับ รายละเอียดการทำรายการที่ไม่ถูกต้อง พร้อมลงลายมือชื่อให้เหมือนในกรมธรรม์ และ ส่งอีเมล์มาที่ th.pmc@aia.com และ cc. th.customer@aia.com
สามารถชำระล่วงหน้าได้ไม่เกิน 1 เดือน ก่อนถึงวันครบกำหนดชำระเบี้ยประกันภัย
กรณีที่บริษัทพบว่าลูกค้าชำระเบี้ยประกันภัยเกิน หรือชำระซ้ำ และไม่มียอดหนี้สิ้นคงค้างในกรมธรรม์ บริษัทจะส่งเช็คเงินคืนให้ลูกค้าไปยังที่ตามกรมธรรม์ หรือ ส่งผ่านตัวแทนเพื่อมอบให้ลูกค้าโดยตรง
สามารถตรวจสอบได้จาก AIA iService (ทั้งแอพและเวบ) หรือ AIA Call Center 1581
สำหรับ AIA iService แอป ให้เลือก เมนู"ข้อมูลกรมธรรม์"=> เลือกหมายเลขกรมธรรม์ที่ต้องการตรวจสอบ=> "ข้อมูลการชำระเบี้ยประกันภัย"
สำหรับ AIA iService เวบ ให้เลือกเมนู"บริการกรมธรรม์" => "ดาวน์โหลดเอกสาร และจดหมายแจ้งเตือน" => "หนังสือรับรองการชำระเบี้ยประกันชีวิต" ถ้ามีหนังสือรับรองออกมาแสดงว่าบริษัทได้รับเบี้ยของลูกค้าแล้ว
ลูกค้าสามารถขอหนังสือรับรองการชำระเบี้ยประกันภัยได้จาก AIA iService ผ่านเวบไซต์ได้ที่ iservice.aia.co.th
ซึ่งเมื่อเข้าสู่ระบบให้เลือกเมนู"เอกสาร" และเลือกกรมธรรม์ที่ต้องการ โดยทำตามขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้
สามารถใช้ช่องทางการชำระเบี้ยได้ตามปกติ ยกเว้นกรณีการชำระผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส/เทสโก้โลตัส/ที่ทำการไปรษณีย์/mpayและtrue money ซึ่งจะสามารถชำระได้เฉพาะเบี้ยประกันตามใบเตือนเท่านั้น (ไม่รวมดอกเบี้ย)
สำหรับการชำระเบี้ยผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร สามารถสอบถามดอกเบี้ยที่ต้องชำระได้ที่ AIA Call Center 1581
ข้อมูลเพิ่มเติม ดูที่นี่
แบบประกันจะมีสัญญา 2 ส่วน คือ
ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
ตามประกาศของสรรพากร
ลูกค้าสามารถแจ้งความประสงค์ขอหนังสือรับรองดังกล่าวได้โดยกรอกแบบฟอร์มดังนี้
สามารถเลือกรับได้ 4 วิธีดังนี้
AIA iService แอป (เลือกเมนู"รับผลประโยชน์ผ่านธนาคาร" => "สมัคร/เปลี่ยนแปลงบริการ") หรือดาวน์โหลดเอกสารได้ ที่นี่
AIA iService เลือก เมนูเงินปันผล/เงินคืน
ผู้เอาประกันภัยสามารถแจ้งขอเปลี่ยนเช็ค/ เช็คหมดอายุ/ เช็คสูญหาย โดยกรอกข้อมูลพร้อมลงนามในแบบฟอร์ม หรือดาวน์โหลดได้ ที่นี่
ส่งแบบฟอร์มได้ที่
ในกรณีที่กรมธรรม์ขาดอายุแล้ว และลูกค้ายังมิได้รับเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ สามารถขอต่ออายุกรมธรรม์ได้ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่กรมธรรม์ขาดอายุ
กรมธรรม์ทุกแบบ ต่ออายุได้ภายใน 5 ปีหลังจากกรมธรรม์ขาดอายุ
กรณีสมัครกรมธรรม์ผ่านตัวแทนประกันชีวิต
ลูกค้าสามารถส่งคืนกรมธรรม์มายัง AIA ภายใน 15 วันนับจากวันที่ได้รับกรมธรรม์ และ AIA จะคืนเบี้ยประกันหลังหักค่าตรวจสุขภาพตามที่จ่ายจริง(ถ้ามี) และค่าใช้จ่ายฉบับละ 500 บาท ในกรณีที่ลูกค้าได้ใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนแล้วจะไม่มีสิทธิยกเลิกกรมธรรม์ฉบับนี้
กรณีสมัครกรมธรรม์ผ่าน Telesales
ลูกค้าสามารถส่งคืนกรมธรรม์มายัง AIA ภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับกรมธรรม์ (ไม่ถูกหักค่าใช้จ่าย 500 บาท)
การกู้ยืมเงินตามกรมธรรม์ประกันภัย บริษัทจะดำเนินการจ่ายให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน นับแต่วันที่บริษัทได้รับคำร้องพร้อมเอกสารประกอบการพิจารณาการจ่ายอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว
การขอเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อรับมูลค่าเวนคืนเงินสด บริษัทจะดำเนินการจ่ายให้แล้วเสร็จภายใน 20 วัน นับแต่วันที่บริษัทได้รับคำร้องพร้อมเอกสารประกอบการพิจารณาการจ่ายอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว
สามารถแจ้งความประสงค์เป็นลายลักษณ์อักษร โดยระบุตัวแทนใหม่ที่ต้องการให้ดูแล พร้อมลงนามเซ็นชื่อกำกับ หรือกรอกแบบฟอร์มขอเปลี่ยนแปลงตัวแทนบริการ ซึ่งสามารถ download ที่นี่ ส่งมายังบริษัท ถึงศูนย์ดูแลลูกค้า 181 ถ.สุรวงค์ ข.บางรัก กทม.10500 หรือ th.customer@aia.com
แจ้งขอรับบัตรใหม่ได้ที่
(สำหรับบัตรประกันอุบัติเหตุต้องแนบใบแจ้งความด้วย) บริษัทจะจัดส่งไปยังที่อยู่ตามกรมธรรม์ภายใน 7 วันทำการ
แจ้งขอกรมธรรม์ใหม่ได้ดังนี้
ส่งเอกสารแบบลงทะเบียนมาที่ ศูนย์รับเอกสารฝ่ายปฏิบัติการผู้ถือกรมธรรม์ ชั้น 1 181 ถ.สุรวงศ์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพ 10500 บริษัทจะจัดส่งไปยังที่อยู่ตามกรมธรรม์ภายใน 14 วันทำการ สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ที่นี่
การกู้มูลค่าเงินสดคือการเบิกเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์มาใช้ล่วงหน้าก่อนครบสัญญา ซึ่งจะเสียดอกเบี้ยในอัตราตามที่กรมธรรม์นั้นๆกำหนดไว้ ลูกค้าสามารถตรวจสอบยอดเงินที่สามารถกู้ได้ผ่าน AIA iService (แอพและเวบ) หรือ AIA Call Center 1581
กรอกเอกสารสัญญาเงินกู้ (ลูกค้าสามารถดาวน์โหลด ที่นี่ ) แนบพร้อมสำเนาบัตรประชาชนและลงลายมือชื่อรับรองเอกสาร สามารถยื่นเอกสารได้หลายช่องทาง คือ
ลูกค้าสามารถลงทะเบียนเข้าสู่ระบบโดยทำตามขั้นตอนในเอกสารได้ที่นี่
ท่านเคยสร้างบัญชี AIA ID ไว้แล้ว คลิกที่นี่
ระบบข้อมูลลูกค้า AIA iService ผ่านเว็ปไซต์รองรับการใช้งานบราวเซอร์ Internet Explorer 9, Firefox18, Chrome 24 หรือสูงกว่า กรุณาเลือกใช้บราวเซอร์ตามเวอร์ชั่นที่ระบุ
ในการลงทะเบียนการใช้งานครั้งแรกหากพบข้อความ “ข้อมูลส่วนตัวของท่านไม่สอดคล้องกับข้อมูลที่ท่านให้ไว้กับบริษัท” ให้ทำการตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลในการลงทะเบียนให้ตรงกับข้อมูลที่ให้ไว้ หากยังไม่สามารถแก้ไขได้กรุณาเลือก ขอความช่วยเหลือ บนหน้าจอ
หากลูกค้ามีเฉพาะกรมธรรม์ประเภทประกันกลุ่มอย่างเดียว สามารถกรอกเลขที่กรมธรรม์ประกันกลุ่มและใบรับรองเลขที่ ตามช่องที่ระบุในหน้าจอ
รหัส One Time Password (OTP) คือ รหัสผ่านที่ใช้ครั้งเดียวเพื่อเป็นมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยระบบจะจัดส่ง OTP ผ่านทางมือถือ (SMS) และ/หรือ อีเมลที่ได้ทำการลงทะเบียนไว้ในระบบแล้ว
ข้อความใน SMS หรืออีเมลที่ระบบจัดส่งไปให้จะประกอบด้วย หมายเลขอ้างอิง (Ref No.) และ รหัสผ่าน (OTP) ลูกค้าสามารถเลือกข้อความใน SMS หรืออีเมลที่มีหมายเลขอ้างอิง (Ref No.) และ รหัสผ่าน (OTP) ตรงกันนำมาระบุที่หน้าจอระบบข้อมูลลูกค้า
รหัสผ่าน ( OTP ) ที่ระบบจัดส่งให้มีอายุการใช้งานเพียง 15 นาทีเท่านั้น หากเกินระยะเวลาที่กำหนด สามารถกดรับรหัส ผ่าน (OTP) ได้ใหม่ผ่านทางหน้าจอระบบข้อมูลลูกค้า
หากลูกค้าไม่ได้รับ รหัสผ่าน (OTP ) ทาง SMS ที่ระบบจัดส่งให้นั้น ลูกค้าสามารถตรวจสอบ รหัสผ่าน ( OTP ) ได้ทางอีเมลที่ลงทะเบียนไว้ระบบข้อมูลลูกค้าได้
ลูกค้าสามารถขอเอาประกันภัยผ่าน ตัวแทนประกันชีวิต นายหน้าประกันภัยชีวิต ที่ได้รับอนุญาต และทางโทรศัพท์โดยบริษัทเอไอเอ
สามารถยื่นเอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณารับประกันภัยผ่าน ตัวแทนประกันชีวิต นายหน้าประกันภัยชีวิต ที่ได้รับอนุญาต และ โทรศัพท์โดยบริษัทเอไอเอ
เอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณารับประกันภัยเบื้องต้น
1. กรณีผู้ขอเอาประกันภัยที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี ต้องยื่นเอกสารประกอบการพิจารณารับประกันภัยมีดังต่อไปนี้
· ใบคำขอเอาประกันภัยแบบเยาวชน (อายุต่ำกว่า 16 ปี)
· สำเนาสูติบัตรของผู้เอาประกันภัยหรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่ยังไม่หมดอายุ
· สำเนาสมุดสุขภาพของผู้เอาประกันภัยขณะที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี
· หนังสือยินยอมและมอบอำนาจโดยผู้ปกครองลงนามเป็นผู้มอบอำนาจ
· รายงานประกอบใบคำขอเอาประกันภัย
· ใบรับเงินชั่วคราว
2. กรณีผู้ขอเอาประกันภัยที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ต้องยื่นเอกสารประกอบการพิจารณารับประกันภัยดังต่อไปนี้
· ใบคำขอเอาประกันภัย (อายุตั้งแต่ 16 ปี ขึ้นไป)
· สำเนาบัตรประชาชนที่ยังไม่หมดอายุพร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
· หนังสือยินยอมและมอบอำนาจ
· รายงานประกอบใบคำขอเอาประกันภัย
· ใบรับเงินชั่วคราว
ขั้นตอนการพิจารณารับประกันภัย มีอะไรบ้าง
เมื่อบริษัทได้รับเอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณารับประกันภัยตามข้อ 2 ครบถ้วนแล้วบริษัทจะพิจารณารับประกันภัยตามความเสี่ยงของผู้เอาประกันภัยโดยพิจารณาจากปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวกับสุขภาพ ได้แก่ อายุ เพศ น้ำหนักส่วนสูง ประวัติสุขภาพ ประวัติครอบครัว และ ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่เกี่ยวกับสุขภาพ ได้แก่ อาชีพ รูปแบบการดำเนินชีวิต สภาพแวดล้อม และปัจจัยเสี่ยงทางการเงิน โดยมีผลการพิจารณาดังนี้
1. รับประกันภัยในอัตราเบี้ยประกันภัยมาตรฐาน โดยไม่ขอข้อมูลเพิ่มเติมใดๆ จากผู้ขอเอาประกันภัย และออกกรมธรรม์เพื่อส่งมอบให้แก่ผู้ขอเอาประกันภัยต่อไป
2. บริษัทอาจขอข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อใช้ประกอบการพิจารณารับประกันภัย เช่น ขอตรวจสุขภาพ ขอประวัติการตรวจรักษาในอดีต ให้ผู้ขอเอาประกันภัยตอบแบบสอบถามเพิ่มเติม ฯลฯ โดยบริษัทจะมีหนังสือแจ้งให้ผู้ขอเอาประกันภัยทราบ
3. รับประกันภัยในอัตราเบี้ยประกันภัยสูงกว่ามาตรฐาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรายละเอียดเกี่ยวกับภาวะสุขภาพในปัจจุบัน ประวัติสุขภาพในอดีต อาชีพ ฯลฯ โดยบริษัทจะมีหนังสือแจ้งข้อเสนอใหม่แก่ผู้ขอเอาประกันภัยก่อน เมื่อผู้ขอเอาประกันภัยตอบรับข้อเสนอใหม่ของบริษัทพร้อมชำระเบี้ยประกันภัยส่วนเพิ่ม หรือตอบรับเงื่อนไขข้อเสนอใหม่ของบริษัทพร้อมรับคืนเบี้ยประกันภัยส่วนเกิน (ถ้ามี) บริษัทจึงจะออกกรมธรรม์และส่งมอบให้แก่ผู้ขอเอาประกันภัยต่อไป
4. ในกรณีที่บริษัทสามารถรับประกันภัยได้ทั้งในอัตราเบี้ยประกันภัยมาตรฐานหรือสูงกว่าเบี้ยประกันภัยมาตรฐานบริษัทจะออกกรมธรรม์ให้แก่ผู้ขอเอาประกันภัยพร้อมแนบใบตอบรับการรับมอบกรมธรรม์ประกันภัย เมื่อผู้ขอเอาประกันภัยตรวจสอบกรมธรรม์เรียบร้อยและเห็นว่าตรงตามความประสงค์ของตนเองแล้ว ผู้ขอเอาประกันภัยจะต้องลงนามในใบตอบรับการรับมอบกรมธรรม์ประกันภัยแล้วส่งคืนบริษัท
5. ในกรณีที่บริษัทไม่ได้รับข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณารับประกันภัยจากผู้ขอเอาประกันภัยตามที่ระบุภายในระยะเวลาที่กำหนด บริษัทจะมีหนังสือแจ้งยกเลิกใบคำขอเอาประกันภัยพร้อมคืนเบี้ยประกันภัย(ถ้ามี) ให้ผู้ขอเอาประกันภัยทั้งหมด
6. ในกรณีที่ผู้ขอเอาประกันภัยปฏิเสธข้อเสนอใหม่ของบริษัท บริษัทจะแจ้งยกเลิกใบคำขอเอาประกันภัยพร้อมคืนเบี้ยประกันภัย(ถ้ามี) ให้ผู้ขอเอาประกันภัยทั้งหมด
7. ในกรณีที่บริษัทพิจารณาเลื่อนการรับประกันภัยหรือปฏิเสธการรับประกันภัย บริษัทจะมีหนังสือแจ้งให้ผู้ขอเอาประกันภัยทราบ พร้อมคืนเบี้ยประกันภัย(ถ้ามี)ให้ผู้ขอเอาประกันภัยทั้งหมด
APL - สถานะการกู้เงินอัตโนมัติจากกรมธรรม์เพื่อชำระเบี้ยประกันภัย เพื่อคงความคุ้มครองที่ต่อเนื่องตามกรมธรรม์ โดยจะเกิดขึ้นได้กรณีที่กรมธรรม์มีมูลค่าเพียงพอสำหรับชำระเบี้ยประกันภัย
การชำระคืนเงินกู้อัตโนมัติ - ชำระเบี้ยประกันภัยตามจำนวนเงินที่กู้อัตโนมัติพร้อมดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะแตกต่างกันตามเงื่อนไขของแต่ละกรมธรรม์
PAPL - สถานะการกู้เงินจากกรมธรรม์เพื่อชำระเบี้ยประกันภัยโดยอัตโนมัติแบบต่อเนื่องเพื่อคงความคุ้มครองที่ต่อเนื่องตามกรมธรรม์ กรณีที่กรมธรรม์มีมูลค่าไม่เพียงพอสำหรับงวดการชำระเบี้ยประกันภัยแบบเดิม บริษัทจะเปลี่ยนงวดชำระเป็นรายเดือนและกู้อัตโนมัติจนกว่ามูลค่านั้น มีไม่เพียงพอที่จะชำระเบี้ยประกันภัยได้ครบเดือนในเดือนสุดท้าย บริษัทจะปัดความคุ้มครองขึ้นให้เต็มเดือน หลังจากนั้นกรมธรรม์จะขาดอายุ
การชำระคืนเงินกู้อัตโนมัติแบบต่อเนื่อง - ชำระเบี้ยประกันภัยตามจำนวนเงินที่กู้อัตโนมัติพร้อมดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะแตกต่างกันตามเงื่อนไขของแต่ละกรมธรรม์
Lapsed- กรมธรรม์ขาดอายุ หรือ สิ้นสุดความคุ้มครอง เนื่องจากบริษัทไม่ได้รับชำระเบี้ยประกันภัยภายในระยะเวลาผ่อนผันและกรมธรรม์ไม่มีมูลค่าเพียงพอที่จะกู้อัตโนมัติเพื่อชำระเบี้ยประกันภัยได้
การต่ออายุกรมธรรม์
(1) ชำระเบี้ยประกันภัยพร้อมดอกเบี้ยสำหรับการต่ออายุ ซึ่งดอกเบี้ยจะคำนวณจากวันที่ครบกำหนดชำระเบี้ย จนถึงวันที่บริษัทได้รับชำระเบี้ยประกันภัย ทั้งนี้การต่ออายุต้องไม่เกิน 5 ปี นับจากวันที่กรมธรรม์ขาดอายุ
(2) กรณีที่ผู้เอาประกันภัยมีประวัติสุขภาพ จะต้องส่งหนังสือรับรองสุขภาพ (Health Certificate) เพื่อเข้าสู่หลักเกณฑ์การพิจารณารับประกันของบริษัทตามปกติ ทั้งนี้ การเริ่มนับระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง (Waiting period) จะเริ่มนับใหม่จากวันที่บริษัทอนุมัติการต่ออายุ
ETI- การหยุดจ่ายเบี้ยประกันภัย แล้วขอใช้สิทธิที่ทำให้กรมธรรม์ยังมีการคุ้มครองชีวิตต่อไป โดยจำนวนเงินเอาประกันภัยจะคงเดิมแต่ระยะเวลาที่คุ้มครองจะลดลง และจะให้ความคุ้มครองเฉพาะสัญญาหลักเท่านั้น ส่วนสัญญาเพิ่มเติมอื่นๆ ที่มีอยู่จะสิ้นผลบังคับทันที ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของกรมธรรม์
การกลับคืนสู่สถานะกรมธรรม์ปกติ
(1) ชำระเบี้ยประกันภัยพร้อมดอกเบี้ยสำหรับการกลับคืนสู่สถานะเดิม ซึ่งดอกเบี้ยจะคำนวณจากวันที่ครบกำหนดชำระเบี้ย จนถึงวันที่บริษัทได้รับชำระเบี้ยประกันภัย ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 5 ปี นับจากวันที่กรมธรรม์เปลี่ยนสถานะ
(2) กรณีที่ผู้เอาประกันภัยมีประวัติสุขภาพ จะต้องส่งหนังสือรับรองสุขภาพ (Health Certificate) เพื่อเข้าสู่หลักเกณฑ์การพิจารณารับประกันของบริษัทตามปกติ ทั้งนี้ การเริ่มนับระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง (Waiting period) จะเริ่มนับใหม่จากวันที่บริษัทอนุมัติการกลับคืนสู่สถานะกรมธรรม์ปกติ
RPU- การหยุดจ่ายเบี้ยประกันภัย แล้วขอใช้สิทธิที่ทำให้กรมธรรม์ยังมีการคุ้มครองชีวิตต่อไปจนครบสัญญาเหมือนเดิม แต่จำนวนเงินเอาประกันภัยจะลดลง และจะให้ความคุ้มครองเฉพาะสัญญาหลักเท่านั้น ส่วนสัญญาเพิ่มเติมอื่นๆ ที่มีอยู่จะสิ้นผลบังคับทันที ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของกรมธรรม์
การกลับคืนสู่สถานะกรมธรรม์ปกติ
(1) ชำระเบี้ยประกันภัยพร้อมดอกเบี้ยสำหรับการกลับคืนสู่สถานะเดิม ซึ่งดอกเบี้ยจะคำนวณจากวันที่ครบกำหนดชำระเบี้ย จนถึงวันที่บริษัทได้รับชำระเบี้ยประกันภัย ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 5 ปี นับจากวันที่กรมธรรม์เปลี่ยนสถานะ
(2) กรณีที่ผู้เอาประกันภัยมีประวัติสุขภาพ จะต้องส่งหนังสือรับรองสุขภาพ (Health Certificate) เพื่อเข้าสู่หลักเกณฑ์การพิจารณารับประกันของบริษัทตามปกติ ทั้งนี้ การเริ่มนับระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง (Waiting period) จะเริ่มนับใหม่จากวันที่บริษัทอนุมัติการกลับคืนสู่สถานะกรมธรรม์ปกติ
หมายเหตุ: เฉพาะกรมธรรม์ประกันชีวิต ไม่รวมกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit link)